เส้นทางเศรษฐกิจระหว่างไทย กับอาเซียน จีน และเกาหลี
แม้ เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่สัมผัสได้ก็คือ สภาวะเศรษฐกิจของโลกใน 2 ฝั่งนั้นต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือเศรษฐกิจในโลกตะวันตกยังเปราะบาง ในขณะที่โลกตะวันออกกลับปรับตัวได้ดี นั่นจึงเป็นเหตุให้ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างพยายามที่จะสร้างเส้นทางเศรษฐกิจ ที่จะนำไปสู่ตลาดใหม่ๆ เพื่อลดการพึ่งพาเศรษฐกิจยุโรป และสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยเองก็เล็งไปยังตลาดเกิดใหม่ต่างๆ แม้ตลาดเหล่านั้นได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจในยุโรป แต่ยังนับว่านโยบายของรัฐในแต่ละตลาดต่างก็เอื้อให้ปรับตัวได้ในเวลาอันรวด เร็ว
หลัง จากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2552 เศรษฐกิจเกิดใหม่ต่างๆ ล้วนมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจโลกเติบโตขึ้นเป็นอัตราส่วน 2 ใน 3 ในปี 2553 และมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกนับแต่นั้น ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดมีความภาคภูมิใจที่มีส่วนในการนำธุรกิจไทยเชื่อม โยงกับคู่ค้าทางธุรกิจที่สำคัญอันได้แก่ อาเซียน จีน และเกาหลีใต้
คุณ ลิน ค็อก กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ได้เชิญประธานเจ้าหน้าที่บริหารเป็นตัวแทนของตลาดที่สำคัญทั้ง 3 ได้แก่
มร. นีราจ สวารูป – ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ยกเว้นสิงคโปร์)
มร. ลิม เช็ง เต็ก – ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดประเทศจีน
มร. ริชาร์ด ฮิลล์ - ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดประเทศเกาหลี
เส้นทางเศรษฐกิจระหว่างไทย กับอาเซียน จีน และเกาหลี
คู่ค้าทางธุรกิจของไทย
คู่ค้าทางธุรกิจของไทยที่สำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา
หากมองในมุมของกลุ่มการค้า อาเซียนนับเป็นคู่ค้าทางธุรกิจอันดับ 1 ของไทย นับเป็นสัดส่วนมากถึง 23% ของมูลค้าการค้าทั้งหมดของไทย
การค้าระหว่างไทยกับเกาหลีมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
อาเซียน: คู่ค้าทางธุรกิจที่สำคัญเป็นอันดับ 1 ของไทย
ประเทศไทยได้เปรียบดุลการค้ากับอาเซียน
ภายในอาเซียน นับว่ามาเลเซียเป็นคู่ค้าทางธุรกิจอันดับ 1 (มูลค่าการค้าเท่ากับ 24,730 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554)
ในปี 2555 อินโดนีเซียแซงสิงคโปร์ขึ้นเป็นคู่ค้าทางธุรกิจอันดับ 2 ของไทยในอาเซียน
การเติบโตทางการค้าระหว่างไทย – อาเซียน
อัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีของการค้าระหว่างไทย – อาเซียน ระหว่างปี 2543-2554 อยู่ที่ 13%
กระแสการลงทุนของไทย
การ
ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทยสะสมระหว่างปี 2550-2554 มีมูลค่ารวม 4
หมื่น 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีการลงทุนจากอาเซียนคิดเป็นมูลค่า 7
หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นสัดส่วน 16%)
การ
ลงทุนในต่างประเทศของไทยสะสมระหว่างปี 2550-2554 มีมูลค่า 2 หมื่น 7
พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยลงทุนในอาเซียนคิดเป็น 1 หมื่น 3
พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็น 49%)
ประเทศจีน: คู่ค้าทางธุรกิจอันดับ 3 ของไทย
ประเทศจีนได้เปรียบดุลการค้าประเทศไทย โดยการนำเข้าและส่งออกของจีนกับไทยเติบโตเป็นสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน
การเติบโตของเศรษฐกิจจีนส่งผลให้การค้ากับประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การค้าระหว่างไทยกับเกาหลี
การค้าระหว่าง 2 ประเทศมีมูลค่า 1 หมื่น 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554 คิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 14%
เกาหลีใต้เป็นคู่ค้าทางธุรกิจอันดับ 10 ของไทย
ทั้ง 2 ประเทศตั้งเป้าหมายในการดำเนินการค้าร่วมกันมากถึง 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายใน 5 ปี (ปี 2559)
No comments:
Post a Comment